Mielellään – Mieluummin – Mieluiten

ใครที่เคยสงสัยว่า Mielellään – Mieluumin – Mieluiten ต่างกันอย่างไร และอาจยังลังเลไม่แน่ใจว่าจะเลือกใช้แต่ละตัวในประโยคหรือสถานการณ์แบบไหน วันนี้เราจะมาแจกแจงและยกตัวอย่างจากทั้งสามคำนี้ให้ดูเผื่อจะช่วยให้ผู้เรียนหลายคนหายงงไปได้บ้าง ลองมาศึกษากันค่ะ

Mielellä- แปลว่า “ด้วยความยินดี”, “อย่างยินดี” , “อย่างเต็มใจ” เป็นรูป adessiivi ที่ผันมาจากคำว่า ”MIELI” ปกติจะต่อด้วยคำลงท้ายสรรพนามความเป็นเจ้าของ ใช้เป็นคำขยายกริยา เช่น

mielelläni  = ด้วยความยินดีของฉัน

ตัวอย่าง Minä teen sen mielelläni. = ฉันจะทำสิ้งนี้ด้วยความยินดี

mielelläsi = ด้วยความยินดีของเธอ

ตัวอย่าง Autatko sinä minua mielelläsi? = เธอจะยินดีช่วยฉันรึไม่

mielellään = ด้วยความยินดีของเขา, พวกเขา

ตัวอย่าง Hän lukee mielellään. = เขาอ่านหนังสือด้วยความยินดี (เขาชอบอ่านหนังสือมาก)

ตัวอย่าง He tulevat käymään meillä mielellään kello kuuden jälkeen. = พวกเขาจะแวะมาเยี่ยมพวกเราด้วยความยินดีหลังจากหกโมงเย็น

mielellämme = ด้วยความยินดีของพวกเรา

ตัวอย่าง Me juomme mielellämme kahvia. = พวกเราเต็มใจที่จะดื่มกาแฟ

mielellänne = ด้วยความยินดีของพวกคุณ

ตัวอย่าง Te ette halua käydä mielellänne sekasaunassa. = พวกคุณไม่เต็มใจที่จะใช้ห้องซาวน่ารวมหญิงชาย


Mieluummin เป็นคำขยายกริยาเช่นกัน และเป็นรูปขั้นกว่าของ mielellä- แปลว่า “ยินดีมากกว่า,ชอบมากกว่า ” ใช้ในกรณีที่ต้องการบอกว่าระหว่างสองสิ่งนี้ เราเลือกทำหรือชอบสิ่งไหนมากกว่ากัน ไม่ต้องต่อคำลงท้ายหรือผันรูปใดๆ 

ตัวอย่าง Mitä sinä juot mieluummin aamulla, teetä vai kahvia? = มื้อเช้าคุณมักดื่มอะไรมากว่ากัน ชาหรือกาแฟ

ตัวอย่าง Maksamme ruokaostoksia mieluummin pankkikortilla (kuin käteisellä). = พวกเรายินดีที่จะชำระค่าของด้วยบัตรชำระเงิน (กว่าด้วยเงินสด)

ตัวอย่าง Suomalaiset lähtevät lomalle ulkomaille mieluummin talvella (kuin kesällä). = คนฟินน์ยินดีเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศในฤดูหนาว(กว่าฤดูร้อน)

ตัวอย่าง Koulun jälkeen monet nuoret lähtevät mieluummin töihin kuin yliopistoon opiskelemaan. = หลังจากเรียนจบ เด็กวัยรุ่นหลายคนเลือกที่จะทำงานแทนที่จะเรียนในระดับมหาวิทยาลัย


Mieluiten หรือ mieluimmin เป็นคำขยายกริยาเช่นกัน และเป็นรูปขั้นสุดของ mielellä- แปลว่า “ยินดีที่สุด” หรือ “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง” ใช้ในกรณีที่ต้องการบอกว่าระหว่างสิ่งต่างๆมากมายหลายๆสิ่งนี้ เราต้องการทำสิ่งไหนมากที่สุด ไม่ต้องต่อคำลงท้ายหรือผันรูปใดๆ 

ตัวอย่าง Kun käyn saunassa, istun mieluiten alalauteella. = เมื่อใดที่ฉันอบซาวน่า ฉันจะเลือกนั่งตรงม้านั่งด้านล่างโดยเฉพาะ

ตัวอย่าง Kesällä hän matkustaa ulkomaille mieluiten Kaakkois-Aasiaan. = ในฤดูร้อน เขาเลือกที่จะเดินทางในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแถบเอเชียอาคเนย์

ตัวอย่าง Mitä elokuvaa katsoisit mieluiten? = คุณอยากดูภาพยนตร์เรื่องไหนมากที่สุด

ตัวอย่าง Suomalainen asuu mieluiten omakotitalossa. = คนฟินน์ยินดีที่จะอาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยวมากที่สุด


อ้างอิงแหล่งข้อมูล :

– Männikkölahti, Hanna. (2014, Tammikuu 22). Random Finnish Lesson: mielellään – mieluummin – mieluiten
http://randomfinnishlesson.blogspot.fi/2014/01/mielellaan-mieluummin-mieluiten.html

และขอขอบคุณ Päivi Turtia ที่ช่วยตรวจทานและ แก้ไขตัวสะกด

”Paljon kiitoksia Päiville avustasi ja tuestasi suomen kielen opiskelussa.”

 

Hymiöt – สัญลักษณ์อิโมติคอน

ก่อนที่จะมีการคิดค้นสติกเกอร์การ์ตูนและภาพเคลื่อนไหวที่ในปัจจุบันเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้โปรแกรมแชทออนไลน์ ที่สามารถดาวน์โหลดได้ง่ายแถมยังมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบนั้น  สัญลักษณ์ emoticon  ซึ่งนำตัวเลข ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่หาได้บนแป้นพิมพ์ มาวางเรียงกันให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้รับการพัฒนาโดยนาย Scott Fahlman ในปีค.ศ. 1982 เพื่อใช้อธิบายความรู้สึก หรือแสดงสีหน้าท่าทางประกอบคำพูดหรือข้อความที่พิมพ์ลงไปให้ผู้รับเข้าใจความรู้สึกของผู้ส่งได้ชัดเจนขึ้น หรือแม้แต่เพื่อเป็นการเพิ่มสีสันให้แก่บทสนทนาหรือเนื้อหาของข้อความที่พิมพ์ สัญลักษณ์เหล่านี้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกออนไลน์ ในสมัยที่ระบบห้องแชทและการส่งข้อความผ่านอีเมล์และมือถือยังเป็นที่นิยม

ตัวอย่าง สัญลักษณ์อิโมติคอนที่อยากนำเสนอ พร้อมคำอธิบายภาษาฟินนิช มีดังนี้

กลุ่มที่มีความหมายดี ตลก ขบขัน

🙂 iloinen/onnellinen – ยิ้มแย้ม, มีความสุข, ดีใจ

:)) hyvin iloinen – มึความสุขสุดๆ, ดีใจมาก

😀 nauraa – หัวเราะ

😛 näyttää kieltä – แลบลิ้น

😉 iskeä silmää – ขยิบตา

=x suudelma – ส่งจูบ

:o) klovni/pelle – ตัวตลก

o:) enkeli/pyhimys – เทวดา

:} irvistävä hymy – ยิ้มกรุ่มกริ่ม,มีนัย

:> pieni hymy – อมยิ้ม

sydän – รูปหัวใจ

:P~ herkullinen – อร่อย

@)–>– ruusu – ดอกกุหลาบ

กลุ่มที่มีความหมายไม่ดี

😦 surullinen – เศร้า, เสียใจ, สำนึกผิด

:(( hyvin surullinen – เศร้ามาก

:/ epäilevä/pelokas – สงสัย, กลัว

😥 itkeä – ร้องไห้

:|| vihainen – โมโห

😐 pettynyt – ผิดหวัง

:e pettynyt – ผิดหวัง

:] ylimielinen/leuhkiva – หยิ่ง, ขี้โอ่

:S ymmällä – สับสน

~~:( pinna palaa – โกรธมาก(จนควันออกหู)

%+( loppuun ajettu – เหน็ดเหนื่อย, หมดแรง

%) silmät ristissä (=olla erittäin väsynyt) – เหนื่อยสายตัวแทบขาด

:-~| nuha/palella – น้ำมูกไหล, หนาวสั่น

:T tiukkapipoinen – ตรงไปตรงมา, เข้มงวด

:< pieni murjotus – ไม่พอใจ, หน้าบึ้ง

:7 ironinen hymy – รอยยิ้มเสียดสี

:C masentunut/onneton – หดหู่, ไม่มีความสุข

@#%:O kiroilla – สบถ,พูดคำหยาบ

:w valehdella – โกหก, พูดปด

กลุ่มที่มีความหมายเป็นกลาง

:O yllättynyt/huutaa – แปลกใจ, ร้องตะโกน

|O haukotella – อ้าปากค้าง

:{} käyttää huulipunaa – ริมฝีปากทาลิปสติก

#:) sotkuiset – หัวยุ่งกระเซิง

:)’ kuolata – น้ำลายไหล

:{) viikset – มีหนวดเครา

d:) käyttää lippalakkia – สวมหมวกแก็ป

:8-( opettajakatse – คุณครูมองลอดแว่นตา

:*) humalassa- เมา

%/ krapula – เมาค้าง

:)~ puhua taukoamatta – พูดไม่หยุด

*<:) joulutonttu – เอลฟ์(ผู้ช่วยซานตาคลอส)

*<:#)# joulupukki – ซานตาคลอส

<:) tyhmä kysymys – คำถามทื่อๆไม่ฉลาด

:=) nenäkäs/utelias – อยากรู้อยากเห็น, ขี้สงสัย

:@ kirkua/kiljua – ร้องกรี๊ด

:v puhua – พูด

:V huutaa – ตะโกน

😎 silmälasit päässä – สวมแว่นตา,แว่นกันแดด

ขอบคุณที่มาและสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก เว็บไซต์ http://www.airteg.com/tekstiviestit/hymio-sanakirja/

เครื่องหมายวรรคตอน (välimerkit)

คำศัพท์กลุ่มเครื่องหมายวรรคตอน (välimerkit) มีดังนี้

!   (huutomerkki) = อัศเจรีย์

?   (kysymysmerkki) = ปรัศนี หรือ เครื่องหมายคำถาม

” ”    (lainausmerkit) = อัญประกาศ

,   (pilkku) = จุลภาค หรือ จุดลูกน้ำ

.   (piste) = มหัพภาค

:   (kaksoispiste) = ทวิภาค

;   (puolipiste) = อัฒภาค

( )   (sulkumerkit / kaarisulut) = นขลิขิต หรือ วงเล็บ

[ ]   (sulkumerkit / hakasulut) = วงเล็บเหลี่ยม

{ }   (sulkumerkit / aaltosulut) = วงเล็บปีกกา

/   (kauttaviiva) = ทับ

\   (kenoviiva) = ทับขวา หรือ ทับย้อนหลัง

   (tavuviiva) = ยัติภังค์

_   (alaviiva) = ขีดล่าง

=   (yhtä kuin ) = เสมอภาค

@   (miukumauku) = แอ็ท

คำศัพท์กลุ่มไวยากรณ์(Kielioppisanasto)

ยินดีต้อนรับสู่บล็อค “คำศัพท์ฟินฟิน” บทความแรกขอเริ่มจากการแนะนำคำศัพท์ที่พบบ่อยในบทเรียนไวยากรณ์ (Kielioppisanasto) ขอจัดกลุ่มเพื่อช่วยให้จำง่าย ดังนี้

กลุ่ม sanarakenne = โครงสร้างของคำ

  • konsonantti = พยัญชนะ
  • alkukonsonantti = พยัญชนะต้น
  • loppukirjain(konsonantti) = ตัวสะกด
  • lukusana = คำแสดงจำนวน
  • vokaali = สระ
  • vokaaliyhdistelmä = สระประสม
  • tavu = พยางค์
  • komparatiivi = คำเปรียบเทียบ >> superlatiivi = คำเปรียบเทียบสูงสุด
  • lyhennys = คำย่อ
  • monikko = รูปพหูพจน์ >< yksikkö = รูปเอกพจน์
  • synonyymi  = คำที่มีความหมายเหมือนกัน

 

กลุ่ม lauseenjäsen = ชนิดของคำ ได้แก่

  • adjektiivi = คำคุณศัพท์
  • adverbi = คำกริยาวิเศษณ์
  • interjektio = คำอุทาน
  • konjunktio = คำสันธาน
  • prepositio = คำบุพบท
  • pronomini = คำสรรพนาม
  • 1.persoona = บุรุษที่ ๑
  • 2.persoona = บุรุษที่ ๒
  • 3.persoona = บุรุษที่ ๓
  • substantiivi = คำนาม
  • verbi = คำกริยา

 

กลุ่ม lause = ประโยค

kielteinen lause = ประโยคปฏิเสธ >< myönteinen lause = ประโยคบอกเล่า

 

aikamuoto = กาล

pluskvamperfekti = อดีตกาลที่สมบูรณ์ >> imperfekti = อดีตกาล >> perfekti = ปัจจุบันกาลที่สมบูรณ์ >> preesens = ปัจจุบันกาล >> futuuri = อนาคตกาล

 

äännöt = การอ่านออกเสียง

äänne = เสียงที่เปล่งออกมา

ääntää = พูดออกเสียง

 

เก่งศัพท์ เก่งภาษา ทำยังไง

ยินดีต้อนรับสู่บล็อคที่จะช่วยให้คุณเก่งภาษาฟินนิชได้ด้วยการเพิ่มพูนคำศัพท์ และต่อไปนี้คือคำถามที่หลายคนอาจสงสัยและเราได้เตรียมคำตอบให้คุณแล้ว เช่น

  • บล็อคนี้เหมาะกับใคร

ตอบ เหมาะสำหรับคนไทยที่มีพื้นฐานภาษาฟินนิชเบื้องต้นที่สามารถเขียนสะกด และสามารถอ่านออกเสียงคำในภาษาฟินนิชได้บ้างแล้ว

  • ทำไมต้องเพิ่มพูนคำศัพท์

ตอบ การเรียนภาษา นอกจากความรู้ ความเข้าใจเรื่องไวยากรณ์แล้ว ความรู้ความแตกฉานด้านคำศัพท์ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถอ่านเพื่อรับทราบข้อมูล หรือเลือกใช้คำศัพท์เพื่อการสื่อสารให้บรรลุจุดประสงค์ ได้ดีกว่าการรู้คำศัพท์ในจำนวนจำกัด และหากผู้เรียนทำความเข้าใจที่มาที่ไป หรือศึกษารากของคำศัพท์ จะช่วยให้สามารถจดจำและนำคำศัพท์นั้นไปใช้ได้อย่างมั่นใจ

  • คำศัพท์ที่คัดเลือกมานำเสนอเป็นแบบไหน

ตอบ ผู้เขียนคัดเลือกคำศัพท์ที่พบเจอจากประสบการณ์ส่วนตัว และประสบการณ์ของคนอื่น แล้วนำมาค้นคว้าเพิ่มเติม ก่อนที่จะเผยแพร่เป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะภาษาฟินนิช  ทั้งนี้ผู้เขียนได้จัดหมวดหมู่คำศัพท์ตามกลุ่มของสถานการณ์ เช่น คำที่มักใช้ในชีวิตประจำวัน เกี่ยวข้องกับงานหรืออาชีพ สำนวนที่ได้ยินบ่อย คำศัพท์จากข่าว ท่องเที่ยว บันเทิง เป็นต้น ผู้เขียนอาจสอดแทรกความรู้เรื่องไวยากรณ์เล็กน้อยเพื่อเป็นการอ้างอิง แต่ไม่เน้นย้ำ เนื่องจากความรู้เรื่องไวยากรณ์ไม่ใช่แก่นสารของบล็อคนี้

  • จริงหรือไม่ที่บอกว่า “ถ้าอยากเก่งภาษาต้องท่องศัพท์”

ตอบ ความจริงคือ คนที่รู้คำศัพท์เยอะ จะสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างแตกฉาน ไม่ว่าจะโดยการพูดหรือเขียน เพื่ออธิบาย แสดงความคิดเห็น ความต้องการ และความรู้สึก รวมทั้งสามารถทำความเข้าใจผู้อื่นและเหตุการณ์ต่างๆได้อย่างลึกซึ้งจากการสนทนา การอ่านและการฟัง นั่นเพราะ “คำ คือ เครื่องมือของความคิด” ผู้ที่รู้คำศัพท์มากกว่าคนทั่วไปจึงคล้ายกับผู้ที่มีศักยภาพทางความคิดเหนือผู้อื่น จึงไม่แปลกที่คนพวกนี้จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนอื่น

หากต้องการพัฒนา หรือขยายคลังคำศัพท์ ไม่ควรเน้นที่การท่องศัพท์ แต่วิธีที่ดีและยั่งยืนที่สุด   ที่ต้องการแนะนำ  คือ อ่านบ่อยๆ เมื่อเจอศัพท์ใหม่ให้ศึกษาบริบทของคำศัพท์แต่ละตัว อาจศึกษาที่มาด้วยเพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจ แล้วต่อยอดคำศัพท์ออกไปให้ได้มากที่สุด เช่น จับกลุ่มคำที่มีความหมายเดียวกัน หรือคล้ายกัน หาคำที่มีความหมายตรงกันข้าม แล้วจดบันทึกเป็นกลุ่มเพื่อง่ายต่อการจดจำ จากนั้นนำไปใช้อย่างสม่ำเสมอ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบล็อค “คำศัพท์ฟินฟิน” นี้จะให้สาระ ความรู้ และช่วยสร้างเสริมความมั่นใจแก่ผู้ที่กำลังศึกษาภาษาฟินนิชไม่มากก็น้อย เพียงหมั่นเรียนรู้และนำคำศัพท์ไปใช้บ่อยๆเท่านั้น คุณก็จะเห็นค่อยๆเห็นความเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านภาษาของตัวเอง

ขอทิ้งท้ายด้วยสำนวนที่ว่า “Ei lukemalla uimaan opi, veteen on mentävä.” แปลตรงๆได้ว่า ไม่มีใครสามารถว่ายน้ำได้ด้วยการอ่าน อยากว่ายน้ำให้เป็นก็ต้องลงไปฝึกในน้ำ ก็เท่านั้นเอง! อีกนัยหนึ่ง ถ้าอยากเก่งภาษา ไม่ว่าภาษาใด ก็ต้องฝึก ฟัง พูด อ่าน เขียน ฝึกบ่อยๆ ใช้บ่อยๆ แล้วจะเก่งขึ้นเอง!